เทคโนโลยีการสื่อสารไร้สาย = Wireless communication technologies / โดย ผศ.ดร. ศรัญ ดวงสุวรรณ

By: ศรัญ ดวงสุวรรณ.
Material type: materialTypeLabelBookPublisher: กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2565Description: 1 online resource.Content type: text Media type: computer Carrier type: online resourceISBN: 9786160846665 (electronic bk.).Call No.: TK5103.2 ศ151ท 2565 Other title: Wireless communication technologies.Subject(s): ระบบสื่อสารไร้สายOnline resources: Electronic Resources Summary: ตำราเล่มนี้ได้จัดทำขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์หลักสองประการกล่าวคือ ประการที่หนึ่งเพื่อใช้เป็นตำราการเรียนการสอนหรือเอกสารประกอบคำสอนในรายวิชาบังคับ Wireless Communication Technologies รหัสวิชา 11176313 ซึ่งเปิดสอนในระดับปริญญาตรีของสาขาวิศวกรรมสารสนเทศ ชั้นปีที่ 3 หลักสูตรวิศวกรรมสารสนเทศ ภาควิชาวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง วิทยาเขตรชุมพรเขตอุดมศักดิ์ จังหวัดชุมพร และประการที่สองเพื่อใช้เป็นตำราวิชาการให้ความรู้กับวิศวกร นักวิจัย นักศึกษาสาขาวิศวกรรมไฟฟ้า วิศวกรรมสารสนเทศและการสื่อสาร วิศวกรรมโทรคมนาคม วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนผู้ที่สนใจเพื่อใช้ศึกษาค้นคว้าวิจัยต่อไป ตำราเล่มนี้ครอบคลุมตั้งแต่ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีการสื่อสารไร้สาย เช่นพื้นฐานสายอากาศ คุณลักษณะการแพร่กระจายของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า การแพร่กระจายคลื่นผลกระทบที่สำคัญของการเกิดปัญหาการจางหาย คุณลักษณะของช่องสัญญาณ คลื่นหลายวิถี การใช้หลักการไดเวอซิตี้ และการเข้ารหัสช่องสัญญาณ ตลอดไปจนถึงการประยุกต์ใช้เทคนิคที่สามารถนำไปศึกษาวิจัยได้ ทั้งนี้รายละเอียดของเนื้อหาจะครอบคลุมความเป็นมาของเทคโนโลยีการสื่อสารไร้สายและกลุ่มมาตรฐานที่มีใช้ในปัจจุบัน เช่น กลุ่มโครงข่ายการสื่อสารไร้สายพื้นที่ส่วนบุคคล (Wireless personal area network) กลุ่มโครงข่ายการสื่อสารไร้สายพื้นที่ท้องถิ่น (Wireless local area network) เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตทุกสรรพสิ่ง (Internet of Things) และเทคโนโลยีโครงข่ายบริเวณกว้างกำลังส่งต่ำ LPWAN (Low power wide area network) เทคโนโลยีการสื่อสารบรอดแบนด์ Broadband communication เทคโนโลยีการสื่อสารโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G และเทคโนโลยี 4G LTE เทคโนโลยี 5G ไปจนถึง 6G ในอนาคต ตำราเล่มนี้มุ่งหวังให้นิสิตนักศึกษา อาจารย์ นักวิจัย และผู้ที่สนใจใช้เป็นเอกสารประกอบการเรียนรู้เพื่อให้เข้าใจหลักการทางวิชาการที่ถูกต้องและเหมาะสมต่อบริบทของประเทศไทยที่ต้องการยกระดับอุตสาหกรรม เกษตรกรรม และขับเคลื่อนความเป็นอยู่ของสังคมด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยเฉพาะในยุคที่การสื่อสารไร้สายเป็นสิ่งสำคัญมากในชีวิตประจำวันหรือยุค Thailand 4.0 ทั้งนี้เพื่อผลักดันนักศึกษา นักวิจัย ตลอดจนผู้ที่สนใจในการสร้างองค์ความรู้และรากฐานทางวิชาการของประเทศให้เข้มแข็ง ผู้เขียนหวังว่าตำราเล่มนี้จะเป็นประโยชน์ต่อนักศึกษาทั้งสาขาวิศวกรรมไฟฟ้า วิศวกรรมสารสนเทศและการสื่อสาร วิศวกรรมโทรคมนาคม วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์หรือสาขาที่เกี่ยวข้องตลอดจนผู้ที่สนใจทั่วไป สุดท้ายนี้ผู้เขียนไม่สามารถเขียนตำราเล่มนี้สำเร็จได้หากปราศจากแรงบันดาลใจจากลูกศิษย์นักศึกษาสาขาวิศวกรรมสารสนเทศทุกคนที่ผ่านการเรียนการสอนรายวิชานี้และสร้างแรงผลักดันให้ผู้เขียนผลิตตำราเล่มนี้เพื่อใช้เป็นแหล่งศึกษา และสุดท้ายนี้ผู้เขียนขอกราบขอบพระคุณครูบาอาจารย์ทุกท่านที่ประสิทธิประสาทวิชาความรู้แด่ผู้เขียนมาโดยตลอดระยะเวลาการเรียนและการทำงานของผู้เขียน และขอกราบขอบพระคุณครูบาอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชาทุกท่านที่ได้สละเวลาตรวจทานความสมบูรณ์และความถูกต้องทางวิชาการของตำราเล่มนี้ ผู้เขียนขอขอบพระคุณมา ณ ที่นี่เป็นอย่างสูง
Tags from this library: No tags from this library for this title. Log in to add tags.
    Average rating: 0.0 (0 votes)
No physical items for this record

ตำราเล่มนี้ได้จัดทำขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์หลักสองประการกล่าวคือ ประการที่หนึ่งเพื่อใช้เป็นตำราการเรียนการสอนหรือเอกสารประกอบคำสอนในรายวิชาบังคับ Wireless Communication Technologies รหัสวิชา 11176313 ซึ่งเปิดสอนในระดับปริญญาตรีของสาขาวิศวกรรมสารสนเทศ ชั้นปีที่ 3 หลักสูตรวิศวกรรมสารสนเทศ ภาควิชาวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง วิทยาเขตรชุมพรเขตอุดมศักดิ์ จังหวัดชุมพร และประการที่สองเพื่อใช้เป็นตำราวิชาการให้ความรู้กับวิศวกร นักวิจัย นักศึกษาสาขาวิศวกรรมไฟฟ้า วิศวกรรมสารสนเทศและการสื่อสาร วิศวกรรมโทรคมนาคม วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนผู้ที่สนใจเพื่อใช้ศึกษาค้นคว้าวิจัยต่อไป ตำราเล่มนี้ครอบคลุมตั้งแต่ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีการสื่อสารไร้สาย เช่นพื้นฐานสายอากาศ คุณลักษณะการแพร่กระจายของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า การแพร่กระจายคลื่นผลกระทบที่สำคัญของการเกิดปัญหาการจางหาย คุณลักษณะของช่องสัญญาณ คลื่นหลายวิถี การใช้หลักการไดเวอซิตี้ และการเข้ารหัสช่องสัญญาณ ตลอดไปจนถึงการประยุกต์ใช้เทคนิคที่สามารถนำไปศึกษาวิจัยได้ ทั้งนี้รายละเอียดของเนื้อหาจะครอบคลุมความเป็นมาของเทคโนโลยีการสื่อสารไร้สายและกลุ่มมาตรฐานที่มีใช้ในปัจจุบัน เช่น กลุ่มโครงข่ายการสื่อสารไร้สายพื้นที่ส่วนบุคคล (Wireless personal area network) กลุ่มโครงข่ายการสื่อสารไร้สายพื้นที่ท้องถิ่น (Wireless local area network) เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตทุกสรรพสิ่ง (Internet of Things) และเทคโนโลยีโครงข่ายบริเวณกว้างกำลังส่งต่ำ LPWAN (Low power wide area network) เทคโนโลยีการสื่อสารบรอดแบนด์ Broadband communication เทคโนโลยีการสื่อสารโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G และเทคโนโลยี 4G LTE เทคโนโลยี 5G ไปจนถึง 6G ในอนาคต ตำราเล่มนี้มุ่งหวังให้นิสิตนักศึกษา อาจารย์ นักวิจัย และผู้ที่สนใจใช้เป็นเอกสารประกอบการเรียนรู้เพื่อให้เข้าใจหลักการทางวิชาการที่ถูกต้องและเหมาะสมต่อบริบทของประเทศไทยที่ต้องการยกระดับอุตสาหกรรม เกษตรกรรม และขับเคลื่อนความเป็นอยู่ของสังคมด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยเฉพาะในยุคที่การสื่อสารไร้สายเป็นสิ่งสำคัญมากในชีวิตประจำวันหรือยุค Thailand 4.0 ทั้งนี้เพื่อผลักดันนักศึกษา นักวิจัย ตลอดจนผู้ที่สนใจในการสร้างองค์ความรู้และรากฐานทางวิชาการของประเทศให้เข้มแข็ง ผู้เขียนหวังว่าตำราเล่มนี้จะเป็นประโยชน์ต่อนักศึกษาทั้งสาขาวิศวกรรมไฟฟ้า วิศวกรรมสารสนเทศและการสื่อสาร วิศวกรรมโทรคมนาคม วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์หรือสาขาที่เกี่ยวข้องตลอดจนผู้ที่สนใจทั่วไป สุดท้ายนี้ผู้เขียนไม่สามารถเขียนตำราเล่มนี้สำเร็จได้หากปราศจากแรงบันดาลใจจากลูกศิษย์นักศึกษาสาขาวิศวกรรมสารสนเทศทุกคนที่ผ่านการเรียนการสอนรายวิชานี้และสร้างแรงผลักดันให้ผู้เขียนผลิตตำราเล่มนี้เพื่อใช้เป็นแหล่งศึกษา และสุดท้ายนี้ผู้เขียนขอกราบขอบพระคุณครูบาอาจารย์ทุกท่านที่ประสิทธิประสาทวิชาความรู้แด่ผู้เขียนมาโดยตลอดระยะเวลาการเรียนและการทำงานของผู้เขียน และขอกราบขอบพระคุณครูบาอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชาทุกท่านที่ได้สละเวลาตรวจทานความสมบูรณ์และความถูกต้องทางวิชาการของตำราเล่มนี้ ผู้เขียนขอขอบพระคุณมา ณ ที่นี่เป็นอย่างสูง

There are no comments for this item.

to post a comment.

Click on an image to view it in the image viewer


- Copyright © 2022 Library and Learning Space -

Powered by Koha